banner

banner

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

องค์กรเสมือนจริง


            เว็บไซต์  jobthai.com  เป็นเว็บไซต์ของ  บริษัท ทิงค์เน็ต จำกัด  ที่อยู่  323                       อาคารยูไนเต็ดเว็นเตอร์ ชั้น 14 ห้อง 1402 เอ  ถนนสีลม   แขวงสีลม เขตบางรัก           กรุงเทพมหานคร 10500    โทร 02-3536999
เวลาทำการ      จันทร์-ศุกร์      เวลา  8.30 - 18.00 .
                        เสาร์                 เวลา  9.30 - 16.30 .
เว็บไซต์   jobthai.com   คือ  การให้บริการตลาดนัดแรงงาน( Job  Market Service) เป็นสื่อกลางที่ผู้ประกอบการสามารถประกาศฝากรับสมัครงาน เพื่อให้ ผู้ที่กำลังหางานทำสามารถตรวจสอบตำแหน่งงานหรือบริษัทที่ตนเองต้องการทำงานได้  jobthai.com เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกิจกรรมการดำเนินการบนเครือข่ายที่เสมือนการให้บริการ และการดำเนินการได้จริง ขบวนการต่าง ๆ ใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
เทคนิคเสมือนจิง คือ  การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Service)
1.            การสมัครงานออนไลน์
2.            การค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการ
3.            ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครได้
4.            อัพเดทข่าวสารทุกวัน


ประโยชน์
ด้านผู้ประกอบการ
1.  สามารถลงประกาศรับสมัครงานได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
2.  ประหยัดค่าใช้ค่าใช้จ่ายในการประกาศรับสมัครงานเมื่อเปรียบเทียบกับแบบเดิม
3.  สามารถนำฟอร์มสมัครงานฝากไว้กับเว็บไซต์ตลาดนัดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์
4.  สามารถค้นหารายชื่อของผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามต้องการได้อย่างรวดเร็ว
ด้านผู้สมัครงาน
1.  สามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานที่ว่างที่ตนสนใจอย่างทั่วถึง
2.  สามารถติดต่อกับผู้ประกอบการได้โดยตรงและรวดเร็ว
3.  สามารถสมัครงานได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังที่ทำการ
4.  สามารถแก้ไข ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของตนเองให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา

5.  ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

เรียงความ เรื่องแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต


ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น  รวมถึงในองค์กรต่างๆ  เช่น  เทคโนโลยีการสื่อสารการคมนาคม,การศึกษา,การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงมาจากกระแสโลกาภิวัฒ  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีการค้าแบบเสรี
โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต  มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและอิสละ  เช่น  เทคโนโลยีในด้านพลังงาน  ซึ่งมนุษย์ได้ทำการคิดค้นนวัตกรรมด้านพลังงานออกมาในรูปแบบต่างๆ  ได้แก่  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม  พลังงานน้ำ  และพลังงานจากเครื่องจักรที่มนุษย์สร้างขึ้น  เพื่อนำพลังงานเหล่านี้มาใช้เป็นพลังงานทดแทน  ตัวอย่างเทคโนโลยี  คือ  บ้านที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์  โดยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า

จากความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว  จะเห็นได้ว่า  พลังงานมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต





นักวิจัย เอ็มไอที ได้สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ คนตาบอด หรือผู้มีปัญหาทางสายตา สามารถอ่านหนังสือเล่มปกติได้เหมือนกันคนทั่วไปโดยไม่ต้องอ่านจากหนังสืออักษรเบลล์ อุปกรณ์ต้นแบบนี้ มีชื่อเรียกว่า “ฟิงเกอร์รีดเดอร์หรือ เครื่องอ่านด้วยนิ้วมือ
อุปกรณ์นี้เป็นการผสมผสานระหว่างพลาสติกที่โมเดลขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติ ใช้สวมที่นิ้วชี้ และมีกล้องที่ใช้แสกนตัวอักษรพร้อมชิปประมวลผล ที่่จะคอยวิเคราะห์ตัวอักษรและถ้อยคำต่าง ๆ ออกมาเป็นคำเพื่ออ่านข้อความนั้นให้ผู้ใช้งานฟัง และส่งข้อมูลไปยังเครื่องอ่านออกเสียง นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการวิเคราะห์ตำแหน่งของปลายนิ้วกับตัวอักษรและส่งสัญญาณสั่น เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าตำแหน่งของนิ้ววางอยู่ในระยะบรรทัดที่ถูกต้อง และเตือนด้วยว่าจบบรรทัดแล้ว


                 “ฟิงเกอร์รีดเดอร์หรือ เครื่องอ่านด้วยนิ้วมือ นอกจากจะเป็นเครื่องช่วยอ่านตัวอักษรแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องแปลภาษาได้อีกด้วย  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะอุปกรณ์-ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แสกนตัวอักษร และเปลี่ยนเป็นเสียงให้คนเราได้ใช้งานอยู่แล้ว แต่ความแตกต่างของ ฟิงเกอร์รีดเดอร์เครื่องอ่านด้วยนิ้วมือ คือมันเล็กกว่า และเคลื่อนย้ายพกพาได้ เป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล สามารถอ่านตัวอักษรได้จากทุกพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นามบัตร โบรชัวร์ เมนูอาหาร หรือข้อความทุกชนิด ที่สำคัญ มันยังใช้งานกับแท็บเล็ตได้อีกด้วย
                นักวิจัยกล่าวว่า อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้เวลาถึง 3 ปีในการออกแบบและพัฒนา และยังคงเป็นอุปกรณ์ต้นแบบ โดยหวังว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจเพื่อจะผลิตเป็นสินค้าออกสู่ตลาด
                นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ประชากรโลกมีอยู่ประมาณ 3% ที่มีปัญหาการมองเห็น เราจึงเชื่อว่า อุปกรณ์ชนิดนี้จะสามารถตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ ไม่เพียงเท่านั้น อุปกรณ์นี้ยังจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่มองเห็นปกติได้ เช่นคนชรา เด็ก ผู้เรียนภาษา และนักท่องเที่ยว





รูปแบบการจัดการความรู้ ของบริษัททรู คอเปอร์เรชั่น


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” เป็นผู้นำในการให้บริการด้านสื่อสารครบวงจรรายใหญ่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของ ทรู คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้น โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน Customer Management จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ ทรู เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้
นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการความรู้ด้านการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้แก่
                - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
                - ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
                - ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
                - ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VCD Conference)
                 - ระบบการเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (e-Broadcasting)
                - KM Website

1. ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม โดยการปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ วัฒนธรรมความร่วมมือในการทำงาน ค้นหาสิ่งจูงใจคนเพื่อนำไปสู่การโน้มน้าวให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีแผนการจัดการเปลี่ยนแปลงรองรับ
2. ขั้นตอนการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก การสื่อสารในทุกระดับ ต้องหาวิธีอธิบายให้คนเข้าใจว่าทำ KM ไปเพื่ออะไร การสร้างกลวิธีในการย้ำเตือน เช่น สร้างภาพลักษณ์บางอย่างให้ติดตรึงใจ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
3. ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย ต้องทำกระบวนการให้ง่ายและสะดวกใช้มากที่สุด  ไม่ยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ KMไม่ใช้เทคโนโลยี หรือว่าชุดวิธีการเพียงลำพัง   แต่เป็นการ ปฏิบัติจริง ที่ต้องเชื่อมมิติของคน กระบวนการ และเทคโนโลยี ระบบ KM จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาให้เหมาะกับการใช้งาน
4. ขั้นตอนการอบรมและการเรียนรู้ ฝึกให้คนสามารถใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาและ พัฒนาคนให้มากพอจำนวนหนึ่งและทำแต่เนิ่นๆ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถช่วยเหลือระหว่างกันได้ การแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานจะช่วยให้พนักงานได้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางตรง ทางอ้อม ทั้งผู้ให้และผู้รับ และเกิดการไหลเวียนความรู้ขึ้นอีกด้วย
5. ขั้นตอนการวัดและติดตามประเมินผลความสำเร็จ และความผิดพลาดของโครงการเพื่อพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น โลกธุรกิจจำเป็นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า เกิดความคุ้มค่าทางการลงทุน เกิดประสิทธิผล ระยะเวลาตอบคำถามให้แก่ลูกค้าลดลง สามารถให้คำตอบครั้งเดียวโดยไม่ต้องโอนสายต่อ   เกิดนวัตกรรมทางการให้บริการ ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้เองมากขึ้น
6. ขั้นตอนการสร้างแรงจูงใจ การให้เกียรติและการให้รางวัล จะช่วยเสริมแรงให้คนสร้างความรู้ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ๆ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม   สร้างระบบการให้รางวัลที่ไม่ใช่เงิน แต่ทำให้เกิดความภูมิใจ เพื่อเป็นการกระตุ้น ผลักดัน และส่งเสริมให้โครงการสำเร็จ

ผลที่ได้จากการทำ KM ทำให้ได้ Central Knowledge Center ซึ่งได้รวบรวมเอกสารนับพันฉบับในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการตอบคำถามลูกค้า พนักงานกว่า 1,500 คนสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในเวลาอันรวดเร็ว เอกสารกว่า 50,000 หน้าที่ได้เปิดใช้งาน ได้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ดีสำหรับ Call Center และตัวแทนขาย  จากประสบการณ์ KM ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าต่อการพัฒนากระบวนการทำงานที่จะนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร  ถือได้ว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ KM  ด้วย ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง 

นวัตกรรม




             SolePower  หรือแผ่นร้องเท้ากักเก็บพลังงานจากการเดิน จากสองนักพัฒนา แมทท์ สแตนตัน และ ฮันน่า อเล็กซานเดอร์ ที่คิดค้นกลไกพลังงานในรองเท้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   หลักการทำงานคือ พลังงานจากการส้นเท้านั้นจะถูกแปลงเป็นพลังงานหมุนแม่เหล็กใบพัดขนาดเล็ก ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าในขดลวด หลังจากนั้นไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งตามสายไปยังแบตเตอรี่โพลิเมอร์  ลิเธียม ไอออน ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณที่ผูกเชือกร้องเท้าด้านบนเพื่อการจัดเก็บ และนำไปใช้ให้พลังงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาด้วยสาย USB
โดยอุปกรณ์รุ่นในปัจจุบัน สามารถให้พลังงานแก่สมาร์ทโฟนด้วยพลังงานจากการเดินในระยะทาง 15 ไมล์ และนักพัฒนากำลังออกแบบใหม่ให้เหลือระยะทางเพียง 5 ไมล์เท่านั้นและยังดีไซน์ให้ตัวอุปกรณ์กันน้ำและทนต่อสภาพอากาศต่างๆได้อีกด้วย
นอกจากพลังงานจากพื้นร้องเท้าดังกล่าวข้างต้น ยังมีพลังงานอื่นๆ ในแนวคิดเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ที่มีแนวความคิดเปลี่ยนพลังงานของการหยดโลหะในพื้นรองเท้ามาเป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยวิธีการของหยดของเหลวที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าได้ถูกบีบอัด ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้า 
Solepower นั้นสามารถปรับให้เข้ากับรองเท้าแบบใดก็ได้ และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเดินทางแบ็คแพ็ค โดยที่ผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดนั้นจะออกสู่ตลาดภายในปีนี้ 




รูปแบบการจัดการความรู้

1. การศึกษาความรู้
ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุดเป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คน ๆ หนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ ความรู้ต่างๆของมนุษย์ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ และสิ่งที่ดีสุดที่จะนำพามนุษย์ไปสู่แสงสว่าง คือการศึกษาหาความรู้ และความรู้ที่ดีที่สุดคือความรู้ที่ให้คุณประโยชน์แก่ตัวเขาเองและคุณประโยชน์แก่บุคคลอื่น
2. การรวบรวมข้อมูลความรู้
หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ได้เก็บไว้แล้วหรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานของตน ซึ่งสามารถแบ่งข้อมูลได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อมูลทุติยภูมิ และกลุ่มข้อมูลปฐมภูมิ
3. ประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
หมายถึง การนำความรู้นั้นมาจัดทำรูปแบบและ ภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่ายพร้อมทั้งเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาและค้นคว้า
4. การเข้าถึงความรู้
เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้อาจทำเป็นสมุดหน้าเหลือง (บอกว่ามีข้อมูลเรื่องที่ต้องการอยู่ที่ใดและเข้าถึงข้อมูลนั้นอย่างไร แทนที่จะเป็นเบอร์โทรศัพท์) ซึ่งความรู้อาจจัดเก็บเป็นรูปแบบง่าย ๆ ยากขึ้นอีกนิดก็ทำเป็นฐานความรู้ IT การจัดอบรม การจัดให้มีระบบสอนงานและ อีกหลายวิธีที่ทำให้ความรู้นั้นสามารถให้องค์กรนำไปใช้
5. การจัดเก็บความรู้
เป็นกระบวนการของการกำหนดรูปแบบของความรู้ และ เทคโนโลยีที่จะใช้ จัดเก็บ เพื่อรักษาความรู้ที่มีคุณค่าขององค์กรไว้ในฐานความรู้ที่เหมาะสม  เมื่อต้องการใช้งานสามารถนำมาใช้ได้อย่างทันที และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งควรจะต้องมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงความรู้ด้วย เพราะอาจมีบางประเด็นอาจจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญขององค์กรที่ควรจะต้องรักษาไว้เป็นความลับ ความรู้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในองค์กรหากมีระบบการจัดเก็บไม่ดีอาจจะเป็นอุปสรรคในการนำไปใช้ ดังนั้นควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ามาช่วยจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดเก็บและการสืบค้นความรู้เหล่านั้น
6. การนำความรู้ไปใช้
เมื่อคนในองค์กรสร้างความรู้แล้ว ต้องมีการขับเคลื่อนการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงด้วยการเชื่อมโยง และบูรณาการเข้าไปสู่ระบบงานและการทำงานประจำ รวมทั้งในเวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับทีมคร่อมสายงาน และทั้งภายใน/ภายนอกหน่วยงาน  เช่นการใช้นิเทศงาน  งานวิชาการเช่นการนำผลงานKM มาพัฒนาต่อให้เป็น งานโครงการเช่นการพัฒนางานด้วยองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน เวทีแบ่งปันความรู้ในตลาดนัด KM และการนำองค์ความรู้ไปแลกเปลี่ยนและยกระดับความรู้
7. การเผยแพร่ความรู้
เป็นกระบวนการของการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่บุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลที่ต้องการใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน เกิดปัญญาในการปฏิบัติงานและจะพัฒนาความรู้ได้อย่างไม่หยุดยั้งด้วยการใช้ประโยชน์จากการเผยแพร่ความรู้
8. การแลกเปลี่ยนความรู้
คือ การแลกเปลี่ยนความรู้การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐาน อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา