banner

banner

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบการจัดการความรู้

1. การศึกษาความรู้
ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุดเป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คน ๆ หนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ ความรู้ต่างๆของมนุษย์ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ และสิ่งที่ดีสุดที่จะนำพามนุษย์ไปสู่แสงสว่าง คือการศึกษาหาความรู้ และความรู้ที่ดีที่สุดคือความรู้ที่ให้คุณประโยชน์แก่ตัวเขาเองและคุณประโยชน์แก่บุคคลอื่น
2. การรวบรวมข้อมูลความรู้
หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ได้เก็บไว้แล้วหรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานของตน ซึ่งสามารถแบ่งข้อมูลได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อมูลทุติยภูมิ และกลุ่มข้อมูลปฐมภูมิ
3. ประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
หมายถึง การนำความรู้นั้นมาจัดทำรูปแบบและ ภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่ายพร้อมทั้งเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาและค้นคว้า
4. การเข้าถึงความรู้
เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้อาจทำเป็นสมุดหน้าเหลือง (บอกว่ามีข้อมูลเรื่องที่ต้องการอยู่ที่ใดและเข้าถึงข้อมูลนั้นอย่างไร แทนที่จะเป็นเบอร์โทรศัพท์) ซึ่งความรู้อาจจัดเก็บเป็นรูปแบบง่าย ๆ ยากขึ้นอีกนิดก็ทำเป็นฐานความรู้ IT การจัดอบรม การจัดให้มีระบบสอนงานและ อีกหลายวิธีที่ทำให้ความรู้นั้นสามารถให้องค์กรนำไปใช้
5. การจัดเก็บความรู้
เป็นกระบวนการของการกำหนดรูปแบบของความรู้ และ เทคโนโลยีที่จะใช้ จัดเก็บ เพื่อรักษาความรู้ที่มีคุณค่าขององค์กรไว้ในฐานความรู้ที่เหมาะสม  เมื่อต้องการใช้งานสามารถนำมาใช้ได้อย่างทันที และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งควรจะต้องมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงความรู้ด้วย เพราะอาจมีบางประเด็นอาจจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญขององค์กรที่ควรจะต้องรักษาไว้เป็นความลับ ความรู้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในองค์กรหากมีระบบการจัดเก็บไม่ดีอาจจะเป็นอุปสรรคในการนำไปใช้ ดังนั้นควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ามาช่วยจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดเก็บและการสืบค้นความรู้เหล่านั้น
6. การนำความรู้ไปใช้
เมื่อคนในองค์กรสร้างความรู้แล้ว ต้องมีการขับเคลื่อนการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงด้วยการเชื่อมโยง และบูรณาการเข้าไปสู่ระบบงานและการทำงานประจำ รวมทั้งในเวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับทีมคร่อมสายงาน และทั้งภายใน/ภายนอกหน่วยงาน  เช่นการใช้นิเทศงาน  งานวิชาการเช่นการนำผลงานKM มาพัฒนาต่อให้เป็น งานโครงการเช่นการพัฒนางานด้วยองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน เวทีแบ่งปันความรู้ในตลาดนัด KM และการนำองค์ความรู้ไปแลกเปลี่ยนและยกระดับความรู้
7. การเผยแพร่ความรู้
เป็นกระบวนการของการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่บุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลที่ต้องการใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน เกิดปัญญาในการปฏิบัติงานและจะพัฒนาความรู้ได้อย่างไม่หยุดยั้งด้วยการใช้ประโยชน์จากการเผยแพร่ความรู้
8. การแลกเปลี่ยนความรู้
คือ การแลกเปลี่ยนความรู้การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐาน อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น